fbpx

Wheelchair เลือกอย่างไร?

Wheelchair เลือกอย่างไร?
manual wheelchair
manual wheelchair

รถเข็นนั่ง(Wheelchair) รถเข็นนั่งไฟฟ้า(e-Wheelchair) เป็นพาหนะคู่ใจ สำหรับคนชรา, ผู้ป่วย หรือ คนพิการ ซึ่งในท้องตลาดมีให้เลือกและมีให้เลือกอย่างไรบ้างและเหมาะแต่ละบุคคลอย่างไร โปรดติดตามในรายละเอียดข้างล่างเลยครับ

เมื่อไรจึงจำเป็นต้องใช้ Wheelchair

เมื่อสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยให้เดินได้ เราก็ต้องยอมรับว่า รถเข็นนั่ง มีความจำเป็นต่อชีวิต เป็นปัจจัยที่5 ที่จะช่วยทำให้เราไปไหน-มาไหน ได้เยี่ยงคนอื่น บางคนพอมีกำลังขา ก็อาจเดินได้โดยการใช้ประกบขาและไม้ค้ำยัน บางคนเลือกเดินเพียงระยะสั้นๆ และใช้รถเข็นนั่งเมื่อต้องไปไหนไกลๆ เพื่อช่วยทุ่นแรง ทั้งนี้ เราสามารถเลือกรถเข็นนั่งได้ตามความเหมาะสม โดยมีแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด เป็นผู้ช่วยให้คำแนะนำ

Wheelchair ที่หมาะสม มีลักษณะอย่างไร?

– มีขนาดพอดีตัวผู้ใช้ เช่น ไม่ใหญ่ ไม่เล็กเกินไป มีช่องว่างข้างตัวประมาณข้างละ 1 นิ้ว ระดับ
ที่รองนั่งไม่สูงหรือต่ำเกินไป เมื่อทิ้งแขนลงข้างตัว งอศอกประมาณ 30-45 องศาแล้ว มือวาง
อยู่ที่จุดสูงสุดของล้อ
– มีน้ำหนักเบา มีความคล่องตัวเวลาใช้ และการเคลื่อนย้าย เช่นพับได้ และประกอบง่าย
– มีความมั่นคง ไม่ล้มหรือหงายหลังง่าย มีตัวยันกันหงายหลัง
– คงทน ไม่ชำรุดง่าย สามารถซ่อมหรือหาอะไหล่ได้ง่าย
– ราคาไม่แพง
– ปรับได้ตามความเหมาะสม เช่น พนักพิงปรับเอียงได้ , ปรับที่นั่งให้เอียงได้ , พับหรือถอดที่รองแขนออกได้ , ปรับระดับที่รองเท้าได้ , เปลี่ยนตำแหน่งดุมล้อหลังได้ , พับได้ , ถอดล้อได้

ชนิดของ Wheelchair

การเลือกรถเข็นนั่งให้เหมาะสมคงต้องดูว่า เรามีกำลังกล้ามเนื้อแขนและมือ มากน้อยขนาดไหนที่จะหมุนล้อรถเข็นให้เคลื่อนที่ได้ การทรงตัวเป็นเช่นไร จะนำไปใช้งานประเภทใด อีกทั้งดูที่กำลังทรัพย์ที่มีอยู่ด้วย

1. รถเข็นนั่ง (Wheelchair) มีทั้งแบบธรรมดา หรือ ปรับเอนหรือ ปรับเพื่อยืนได้ คุณสมบัติแตกต่างกันไป เช่น สามารถพับเก็บไป หรือ น้ำหนักเบาพิเศษ แต่คุณสมบัติหลักเหมือนกันคือ มี ล้อมือจับ สามารถจับและใช้กำลังแขนหมุนให้เคลื่อนที่ไปได้ เหมาะสำหรับ ผู้มีกำลังแขน แต่ขาอ่อนกำลัง หรือ ไม่สามารถขยับได้
– รถเข็นนั่งไม่มีพนักแขน เพื่อการเคลื่อนที่สะดวก เหมาะสำหรับ ผู้มีกำลังแขน และลำตัวแข็งแรง(นั่งตรงขยับลำตัวได้)
– รถเข็นนั่งมีพนักแขน พบเห็นได้บ่อยที่สุด เหมาะสำหรับ ผู้มีกำลังแขน แต่ลำตัวอาจไม่ค่อยมีแรง
2. รถเข็นนั่งสำหรับกีฬา (Sport Wheelchair) ออกแบบเป็นพิเศษ สำหรับ การแข่งกีฬา เช่น รถเข็นนั่ง 3 ล้อ สำหรับกรีฑา หรือ wheelchair สำหรับเล่น Basketball เป็นต้น
3. รถเข็นนั่งไฟ (Electric Wheelchair) มีหลายแบบให้เลือก ทั้งเคลื่อนที่ในแนวราบ หรือ สามารถเคลื่อนที่เพื่อยื่นได้ เหมาะสำหรับคนชรา, ผู้ป่วย หรือ ผู้พิการ สามารถดูลายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
– Semi-eWheelchair คือเป็นแบบส่วนผสม ของ Manual Wheelchair และ Electric Wheelchair มีมอเตอร์หมุน และ ล้อมือจับ คือสามารถใช้ได้ทั้งมือหมุนเอง หรือ บังคับให้เคลื่อนที่ผ่าน Controller ก็ได้
– eWheelchair เป็นรูปแบบของมอเตอร์ขับดับล้อเล็ก ทำงานมีประสิทธิภาพกว่า พับเก็บง่ายกว่า แต่ไม่สามารถจับหมุนให้เคลื่อนที่(ไม่มีล้อมือจับ)

ส่วนประกอบรถเข็นนั่ง(Wheelchair) รถเข็นนั่งไฟฟ้า(e-Wheelchair)

Wheelchair หรือ รถเข็นนั่ง มีส่วนประกอบหลักๆดัง

– โครงโลหะ/อลูมิเนียม/อัลลอยด์ ที่มีลักษณะคล้ายเก้าอี้ มีทั้งแบบพับได้และพับไม่ได้
– ส่วนบนสุดของโครงโค้งเป็นด้ามจับ2ข้าง เพื่อให้ผู้อื่นจับเข็น
– พนักพิงและที่รองนั่ง มักทำด้วยผ้าใบหรือหนังเทียม บางคันเป็นโลหะ (สำหรับอาบน้ำ)
– ที่รองรับแขน อยู่ 2 ข้างลำตัว อาจติดตายตัว พับ หรือ ถอดออกได้
– ล้อใหญ่ 1 คู่ อยู่ด้านหลัง ซึ่งยึดติดกับเพลาหรือแกน มีวงล้อสำหรับมือจับประกบอยู่
– ล้อเล็ก 1 คู่ อยู่ด้านหน้า หมุนได้รอบตัว
– เบรก สำหรับยึดล้อไม่ให้เคลื่อนเวลาหยุดนิ่ง
– ที่รองรับเท้าที่ทำด้วยโลหะ หรือ อลูมิเนียม หรือ พลาสติคแข็ง

e-Wheelchair หรือ รถเข็นไฟฟ้า มีส่วนประกอบเพิ่มเติ่มจากรถเข็นปรกติดังนี้

– Motor โดยทั่วไปจะประกอบด้วย Motor 2 ทำงานแบบอิสระต่อกัน เช่น เดินหน้าแบบตรง
คือ หมุนไปข้างหน้าพร้อมกัน แต่หากต้องการเดินหน้าแบบเฉียง ล้อด้านหนึ่งจะหมุนเร็วกว่า
อีกข้างหนึ่ง
– แบตเตอรี่ เป็นแหล่งพลังงานสำหรับ Motor มีขนาดและความจุ แตกต่างกันไป
– Controller ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้าย Joy Stick โดยทั่วๆไป Controller นี่สามารถ
program ไปผ่านคอมพิวเตอร์สำหรับ Advance User ทำหน้าที่ประมวลผล ควบคุมการ
ทำงานสัมพันธ์กันของ Motor
**ส่วนประกอบอาจแต่งต่างกันไปในแต่ละรุ่น**

Electric Wheelchair รถเข็นนั่งไฟฟ้า
Electric Wheelchair รถเข็นนั่งไฟฟ้า

ข้อพึงปฏิบัติเมื่อใช้รถเข็น มีอะไรบ้าง?

– หมั่นทำความสะอาดเบาะรองนั่งและปลอกหุ้ม
– ถ้าการทรงตัวไม่ดี ควรใช้สายคาดลำตัว
– ถ้าขาทั้งสองข้างชนกัน เกร็งหนีบ ควรใช้แถบผ้าพันรั้งขาให้กางออก หรือใช้หมอนกั้นไว้
– หลีกเลี่ยงการนั่งยกเข่าสูงกว่าตะโพก หรือ นั่งไข่วห้าง
– สวมถุงเท้า รองเท้า ทุกครั้งเมื่อนั่งรถเข็นออกไปนอกบ้าน
– วางเท้าบนที่รองเท้า ไม่ให้หล่นลงมาลากกับพื้น
– ถ้าเท้าบวม ควรยกเท้าขึ้นมาพาดบนเก้าอี้หรือเตียงเป็นครั้งคราว
– ถ้ากล้ามเนื้อแขนและลำตัวไม่แข็งแรง ควรใช้ไม้แผ่นรองช่วยในการย้ายตัว
– ล็อคล้อรถเข็น ก่อนย้ายตัวขึ้น-ลง
– ทำความสะอาดล้อทุก 1-2 สัปดาห์ เป็นอย่างน้อย
– หยอดน้ำมันหล่อลื่นตามข้อต่อ ทุก 1-2 เดือน
– ไม่นั่งอาบน้ำบนรถเข็นที่ไม่กันสนิม
– สูบลมยางเป็นประจำ อย่าปล่อยให้ยางแบน
– ถ้ามีอาการ ตาลาย จะเป็น ลม ต้องบอกให้คนข้างเคียง ช่วยกระดกล้อหน้าให้รถเข็นหงายหลัง เพื่อให้ศรีษะต่อและปลายเท้าชี้ขึ้น เมื่ออาการดีขึ้นจึงปล่อยรถเข็นลงสู่ปกติ

ข้อสำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็น คนชรา, ผู้ป่วย หรือ คนพิการ ที่ใช้ รถเข็นนั่ง หรือ รถเข็นนั่งไฟฟ้า ควรพึ่งปฏิบัติ เป็นประจำคือ อย่าใช้สิ่งเหล่านี้ทุนแรงตลอด ควรออกกำลังกาย หรือ ทำกายภาพบำบัดตามสำควรด้วย เพื่อร่างกายที่แข็งแรง กล้ายเนื้อไม่เสื่อม เหมือนเครื่องยนต์ที่ต้องติดเครื่องเป็นประจำ จะได้ใช้ไปได้นานๆ

Credit : ข้อมูลบ้างส่วนน้ามาจาก http://spinalcordinjury2001.blogspot.com


[suffusion-widgets id=’6′]